วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การจัดตกแต่งบริเวรบ้าน

การจัดตกแต่งบริเวณบ้าน



        บริเวณบ้านจัดเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน เพราะเป็นส่วนแรกที่สามารถสร้างบรรยากาศและความรู้สึกที่ดีของผู้ที่พบเห็นหรือมาเยี่ยมเยือน ฉะนั้นจึงควรดูแลจัด ตกแต่งและทำความสะอาดเพื่อส่งเสริมให้ตัวบ้านสวยงามอยู่เสมอ บริเวณบ้านที่ควรได้รับการจัด ตกแต่ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ
        1. บริเวณหน้าบ้าน หมายถึง บริเวณที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกบ้าน เป็นด้านหน้าของบ้าน ได้แก่ รั้วบ้าน หน้าบ้าน
        2. บริเวณที่ต้องใช้เนื้อที่ให้ความสะดวกแก่สมาชิกในบ้าน หมายถึง บริเวณพื้นที่ที่ใช้เป็นถนนทางเดินเข้าบ้าน ทางเดินรอบบ้าน ที่จอดรถ
        3. บริเวณหลังบ้าน หมายถึง บริเวณที่จัดไว้สำหรับพักผ่อนนอนเล่น นั่งเล่น ซึ่งควรเป็นที่ไม่ประเจิดประเจ้อ มีพื้นที่สำหรับเล่นกีฬาในบ้าน ได้แก่ สนาม สวนดอกไม้ และรวมถึงบริเวณที่ใช้สำหรับทำแปลงผักสวนครัว

 รูปแบบการจัดตกแต่งบริเวณบ้าน

การจัด ตกแต่งบริเวณบ้านให้สวยงาม อาจทำได้ดังนี้
        1. ตกแต่งด้วยต้นไม้ เป็นการจัดบริเวณให้สวยงามร่มรื่น โดยใช้ต้นไม้ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ไม้ผล ไม้ยืนต้นให้ร่มเงา
        2. ตกแต่งด้วยการจัดสวน เป็นการจัด ตกแต่ง โดยเลียนแบบธรรมชาติ เช่น จำลองป่า เขา น้ำตก มาไว้ในบริเวณบ้าน ที่เรียกว่า สวนหย่อม เป็นวิธีการจัดตกแต่งที่เพิ่มความสวยงาม ให้คุณค่าแก่อาคารบ้านเรือน
        3. ตกแต่งด้วยสิ่งประดิษฐ์ หมายถึง สิ่งที่คิดค้นสร้างขึ้น ไว้ใช้สำหรับตกแต่ง ได้แก่ โคมไฟสนาม รูปปั้น ตุ๊กตาปั้น เก้าอี้สนาม กระถางรูปทรงแปลกตา
การจัดพื้นที่ใช้สอย
        การจัดพื้นที่ใช้สอยในบ้านนอกจากพิจารณาตามความสะดวกของการใช้ควรพิจารณาจากความถี่และช่วงเวลาของการใช้สอยควบคู่กับทิศทางของลมและแสงแดด ซึ่งการจัดพื้นที่ ใช้สอยเพื่อช่วยประหยัดพลังงานนั้น คุณตรึงใจ บูรณสมภพ (๒๕๓๙) ได้เขียนแนะไว้ดังนี้
รูปทรงของบ้าน
        บ้านที่ประหยัดพลังงานควรมีเส้นรอบรูปที่น้อยใช้พื้นที่ใช้สอยเท่าๆกัน สำหรับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย อาคารรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้าที่มีสัดส่วนความกว้างยาวที่เหมาะสม อาจประหยัดพลังงานได้มากกว่า โดยด้านแคบของอาคารหันไปทางทิศตะวันออกและตก นอกจากนั้นตัวบ้านควรมีลักษณะโปร่งโล่งกั้นภายในอาคาร แต่น้อยมีหลังคาลาดเอียงเช่น หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยาและหลังคาที่มีชายคายื่นยาวเพื่อบังแดดและกันฝนได้ดีขึ้น
ผนังและหลังคา
        จากการที่อุณหภูมิอากาศในเวลากลางวันและกลางคืนไม่เปลี่ยนแปลงมาก วัสดุที่เก็บสะสมความร้อนต่ำหรือฉนวนกับการใช้ผนังโครงสร้างบางเบาจึงเหมาะสม วัสดุที่เป็นกรอบอาคาร เช่น ผนังหลังคา ให้ใช้วัสดุที่มีค่า การถ่ายเทความร้อนต่ำ หรืออาจประกอบด้วยวัสดุหลายชนิดซ้อนกัน หรือเลือกใช้วัสดุที่ไม่ผิวสะท้อนรังสีความร้อนได้ดี และควรใช้วัสดุสีอ่อนทั้งที่หลังคาและที่ผนัง ภายนอกหลังคาควรมีฝ้าเพดาน และระหว่างหลังคากับฝ้าเพดานมีฉนวนกันความร้อนและมีการระบายอากาศใต้หลังคา
หน้าต่าง
        ใช้กระจกในหน้าต่างที่สามารถทำที่บังแดดให้กระจกได้เท่านั้น และใช้กระจกที่มีคุณสมบัติในการตัดแสง หรือไม่ดูดซึมความร้อนหรือกระจกเคลือบผิวสะท้อนแสงหรือกระจกสองชั้น สิ่งที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการป้องกันความร้อนเข้าทางหน้าต่างมีดังนี้
  • มีช่องแสงและหน้าต่างเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
  • ในด้านทิศตะวันออกและตะวันตกของอาคาร ใช้แผงบังแดดนอกอาอาคารซึ่งจะกันแดดและความร้อนได้ดีกว่ากระจกตัดแสง หรือม่านและมู่ลี่ในอาคาร
  • แผงบังแดดทางตั้งจะใช้ได้ดีกับอาคารด้านทิศเหนือ ตะวันออกและตะวันตก
  • แผงบังแดดชนิดทางนอนจะใช้ได้ผลดีกับอาคารด้านทิศใต้

ภาพ:บ้าน4.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น